หลายคนคงมีความสงสัยว่า ทำไมเกมต่างๆถึงมีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไป แล้วแบบไหนเรียกอย่างไร ในบางครั้งเกมส์เดียวกันอาจจะเรียกไม่เหมือนกัน ซึ่งโดยรวมเกมส์สามารถแบ่งออกได้ดังนี้
Action – เกมส์จะเน้นไปในเรื่องของการบังคับทิศทางและการบังคับตัวละคร ตัวอย่างเช่น Castlevania, หรือ Honster Hunterที่ตัวเกมจะไม่มีอะไรซับซ้อน ส่วนมากจะเป็นการต่อสู้เป็นด่านไปเรื่อยๆ หรืออย่างเกม Dynasty Warriors หรือที่เรียกกันง่ายๆว่าเกมส์สามก๊ก มีหลายชื่อตัวเกมส์ไม่ซับซ้อนมากนักเล่นง่าย
RPG ( Role- Playing Game )- เป็นเกมส์ที่เน้นในเรื่องของเนื้อเรื่อง มีการพัฒนา ไม่เน้นเรื่องการบังคับตัวละครต่อสู้ พูดคุยกับตัวละครอื่นในเกมส์ ตัวอย่างเช่น Turn Base สำหรับคำว่าเทิร์นเบส หมายถึงเกมที่การต่อสู้เป็นเทิร์นๆ เมื่อเจอกับศัตรู โดยเราจะไม่สามารถเข้าโจมตีได้อย่างอิสระ แต่จะต้องรอจนถึงคิวของฝั่งเราบังคับ ถึงจะกำหนดการกระทำของตัวละครได้ว่า จะใช้อาวุธ จะใช้ไอเทม จะหนีฯลฯ ซึ่งเกมแนว RPG บางเกม อย่างพวก ไฟนอลฯ ดราก้อนเควสต์ฯ นั้นก็มีจุดเด่นในการต่อสู้แบบเทิร์นเบสนี่เอง (แต่เกมพวกนั้นจะถูกระบุว่าเป็น RPG โดยไม่จำเป็นต้องระบุว่าเทิร์นเบส)
Action RPG – สำหรับแนวนี้นั้น เหมือนเกมส์ RPG เพียงแต่การต่อสู้จะไม่ได้เป็นไปในลักษณะเทิร์นเบส แต่จะเข้าต่อสู้แบบอิสระเหมือนเกมส์ Action ทั่วไป ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดของเกมประเภทนี้ยังไงก็ต้องซีรี่ส์ Final Fantasy
Adventure – เกมส์แนวผจญภัย ที่เน้นไปทางการแก้ปริศนา โดยแกนเรื่องจะมีปริศนาที่จะค่อยๆ เปิดเผยในฉาก เกมแนวนี้บางครั้งอาจจะไม่มีการต่อสู้เลย จะไม่มีการตัดเข้าฉากต่อสู้ (ถ้ามีการต่อสู้ส่วนใหญ่จะต่อสู้แบบ Action ไปเลย) เน้นเนื้อเรื่อง การแก้ปริศนา และฉากจบที่จะมีหลายแบบขึ้นอยู่กับขั้นตอนการกระทำของผู้เล่น โดยเกมแนวนี้อาจจะมีการแบ่งย่อยของลักษณะเกม เช่น Fantasy Adventure ซึ่งจะเน้นไปทางเรื่องแฟนตาซี / Horror Adventure เน้นเรื่องลึกลับสยองขวัญ / Survival Adventure เน้นเรื่องการเอาตัวรอด / แต่ถ้ามีการต่อสู้บู๊แหลกด้วยแล้วก็อาจจะเป็นแนว Action Adventure ไป คือผสมระหว่างการแอ๊คชั่นของตัวละคร (ยิงปืนฯลฯ) กับการสำรวจและเอาตัวรอด ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดๆ คือพวก Biohazard ซึ่งก็คงเรียกได้ว่าเป็น Horror Action Adventure (เน้นไปทาง Action ซะมากกว่าด้วย)
Puzzle –เกมส์แก้ปริศนา ถ้ายกตัวอย่างพื้นฐานง่ายๆ ก็เกมประเภท เตอร์ติส นี่แหล่ะ แต่เกมแนวพัซเซิลก็ไม่ได้หมายความว่าจะต้องต่อจิ๊กซอว์อย่างเดียว เพราะจริงๆ เกมแนว Adventure นั้นหลายเกมก็ซ่อนปริศนา หรือการเล่นแนว Puzzle อยู่ด้วย แต่เกมแนว Puzzle เน้นการที่อาจจะไม่มีตัวละครหลักหรือการเล่นจะไม่เห็นตัวละครของเรา (ยกเว้นบางเกมที่มีการใส่บทสนทนาเข้าไปในเกมด้วย ซึ่งเกมจะออกแนว Adventure ไปแทน)
HOG – Hidden object Game ถือว่าเป็น Puzzle ก็ว่าได้โดยเน้นว่าเกมค้นหาของ อาจจะ ค้นหาของที่อยู่ในภาพ (เกมที่ให้ชื่อของมาแล้วให้หา) หรือการค้นหาไปทั่วๆ ฉากเพื่อเอาสิ่งของที่ได้มาผสม มาตีความหรือมาแก้ปริศนาเพื่อไปในฉากต่อไป เกมแนวนี้อาจจะไม่เน้นเรื่องราวชัดเจน มีแค่ธีมกับเรื่องราวกว้างๆ เป็นหลัก ไม่ซับซ้อนในส่วนเนื้อเรื่อง แต่ซับซ้อนในส่วนของการดำเนินเรื่อง
Escape Game – เกมส์นี้ก็ถือเป็น Puzzle-HoG ก็ได้ แต่ไม่ได้เน้นการหาของเพียงอย่างเดียวอย่าง HoG แต่เน้นการออกจากพื้นที่ปิดตายด้วย โดยตัวละครมักจะโผล่มาในลักษณะถูกขังหรืออยู่ในสถานที่จำกัด แล้วต้องแก้ไขปริศนาหาทางออก (บางเกมก็ไม่ใช่การหนีออก แต่การเป็นหาทางเข้า) Crimson Room เป็นเกมแนว Escape Game ที่โด่งดังมาก
Simulation – เกมส์จำลองชีวิตจริง ซึ่งเพื่อนๆ น่าจะคุ้นเคยกันดีอย่าง The sims แต่จริงๆ เกมแนวนี้ค่อนข้างกว้าง เพราะเกมตามเฟสบุ๊ค ที่สร้างเมือง สร้างร้านค้า ทำอาหารขายก็ถือว่าเป็น Simulation ในรูปแบบหนึ่งเหมือนกัน ตัวเกมอาจจะไม่มีจุดจบ เล่นไปได้เรื่อยๆ จนกว่าจะเบื่อ ถึงแม้บางคนจะไม่ค่อยเข้าใจว่า ทำไมต้องเล่นเกมที่มันเหมือนชีวิตจริงอย่างนี้ แต่ก็ต้องยอมรับว่า ชีวิตจริงเราสร้างเองไม่ได้แบบ The Sims หรอกนะ Harvest Moon ก็ถือเป็นเกมแนว Simulation เหมือนกัน
Ren-ai/Dating game – เกมส์จีบหนุ่ม/จีบสาว เป็นเกมที่น่าจะแยกย่อยจาก Simulation แต่จะเน้นการเอาชนะใจตัวละครอื่นๆ และมีรูท หรือเนื้อเรื่องหลายเนื้อเรื่องในเกมเดียว แล้วแต่ค่าความสัมพันธ์ของตัวละคร โดยจะมีการถามตอบหรือทำกิจกรรมในเกมเพื่อเพิ่มหรือลดความสัมพันธ์กับตัวละครอื่นๆ (ในเกมจีบหนุ่มหรือจีบสาว บางเกมมีการผสม RPG หรือแนวเกมอื่นๆ ลงไปด้วย)
Strategy – เกมส์แนววางแผนรบ อาจจะไม่เน้นเนื้อเรือง (มีธีมครอบไว้เฉยๆ) เน้นการสร้าง การจัดการภายใน การควบคุมกองทัพ ซึ่งอาจจะเป็นตัวคน รถถึง ทหารม้า ฯลฯ จำนวนมากๆ เข้าต่อสู้โจมตีกับกองทัพอื่น ยึดดินแดน ขยายอาณาเขต ฯลฯ เกมแนวพัฒนาเมืองบางเกมก็จัดอยู่ใน Strategy นี่แหล่ะ
RTS – Real-Time Strategy สำหรับเกมวางแผนรบลักษณะนี้จะเน้นเรื่องการเวลาในการเล่น คือ ต้องเล่นไปเรื่อยๆ จนกว่าจะจบแมทช์ (หยุดพักไม่ได้) พวก DOTA ที่ฮิตๆ กันก็ถือว่าเป็นแนวนี้
TBS – Turn Based Strategy จะแตกต่างกับแบบ RTS ตรงที่สามารถเล่นได้เรื่อยๆ ไม่จำเป็นต้องสู้กันตลอดเวลาหรือมีเวลาจำกัด civilization ถือว่าอยู่จำพวกนี้เช่นกัน ตัวอย่างเช่น ซี่รี่ส์ Romance of the Three Kingdoms เป็นซี่รี่ส์ที่ได้รับความนิยมจากแฟนๆ สามก๊ก จุดเด่นคือการวางกลยุทธและตัวบุคคล ไม่ว่าจะกุนซือหรือแม่ทัพชื่อดังในสามก๊ก ซี่รี่ส์ civilization ก็เป็นแนว Strategy ที่ได้รับความนิยมอย่างมาก
Fighting – แนวต่อสู้ เปิดฉากมาก็มีตัวละครสองฝ่าย ที่เราสามารถบังคับมาต่อสู้กันได้ โดยถ้าเลือดฝ่ายไหนหมดก่อนฝ่ายนั้นแพ้ (บางเกมถ้าตกเวทีก็แพ้) เกมแนวนี้ก็เช่น King of Fighter /Tekken ฯลฯ
PS (First Person Shooter) – เกมมุมมองบุคคลที่ 1 เราจะไม่เห็นตัวละครของตัวเอง (อาจจะเห็นแค่มือ)
TPS (Third Person Shooter) – เกมมุมมองบุคคลที่ 3 เราจะเห็นตัวละครตัวเอง
**แต่ก็มีหลายเกมที่ปรับมุมมองได้ทั้งสองแบบนะ แบบ FPS จะเห็นแค่มือ อาวุธที่ถือ (ตัวอย่างจากเกม Battle Field) แบบ TPS จะเห็นตัวละครของเรา โดยส่วนใหญ่เราจะอยู่ด้านหลังตัวละคร (ตัวอย่างจากเกม Battle Rage)
Music/Rhythm – เกมแนวดนตรีหรือการจับจังหวะ dance dance revolution เกมเต้นสุดฮิต หรือ ไทโกะโนะทัตสึจิน เกมตีกลองไทโกะ ที่ญี่ปุ่นเอาวัฒนธรรมตัวเองมาประยุกต์ได้อย่างน่ารัก หรือ beat mania เวลาเห็นคนอื่นเล่นกันแล้ว เทพมากๆ
Visual Novel – เกมแนว…ให้อ่าน อ่าน และอ่าน เน้นเนื้อเรื่องโดยมาก ผู้เล่นอาจจะมีโอกาสได้เลือกเส้นทางที่จะไปตามตัวเลือกที่มีให้เลือก แต่นอกนั้นจะไม่มีอะไรให้ทำมาก นอกจากอ่าน อ่าน และอ่าน…และฉากจบอาจจะมีหลายแบบแล้วแต่ว่า ผู้เล่นเลือกอ่าน หรือเลือกตอบมาเส้นทางไหน…เกมแนวนี้ถ้าอ่านแล้วสนุกก็โอเค แต่ถ้าอ่านไม่ออกจะเซ็งจอร์จมากเลย ตัวอย่างเช่น Are you Alice? เนื้อเรื่องเข้มข้น อ่านเพลินมาก
Sport – เกมส์เกี่ยวกับกีฬา
Racing – เกมส์เกี่ยวกับรถแข่ง
Shooting –เกมส์แนวยิงๆ จะเป็นยิงปืน หรือจะเป็นยานยิงก็เป็นชูตติ้งได้ อาจจะตะลุยเป็นด่านๆ ไปหรือมีเนื้อเรื่องควบคู่ไปด้วย
Party Game- สำหรับเกมส์แนวนี้ เป็นเกมส์ที่มีจุดเด่นคือ “การเล่นกับเพื่อนฝูง” เน้นการเล่นกับผู้เล่นอื่น (ถึงแม้จะเล่นกับ Ai ได้ก็ตาม) โดยมีแยกย่อยอยู่หลายประเภท เกมที่นับว่าเป็นเกมแนวนี้ได้ ก็คงพวก Mario Kart หรือเกมกระดานต่างๆ
board game – เกมส์กระดาน ซึ่งถ้าใครเกิดทันสมัยเด็กๆ คงได้เล่นพวกเกมงูกินหาง เกมทอยเต๋า ฯลฯ เกมแนวนี้ก็ประมาณนี้ (เกมพวกไพ่หรือมาจอง ก็ถืออยู่ในหมวดนี้
Card game- เกมส์การ์ด ซึ่งเป็นอันรู้ดีกันว่า การ์ดต่างจากไพ่ ซึ่งถ้าพูดถึงการ์ดเกมแล้วที่น่าจะรู้จักกันก็อย่างเช่น Yu gi Oh เป็นต้น โดกาปอง ที่หลายคนอาจจะเคยเล่นกันมาตั้งแต่เกมส์ Play1
Itadaki- เกมส์นี้เล่นเหมือนเกมส์เศรษฐี
Arcade-เกมส์ตู้ หรือเกมส์หยอดเหรียญที่เห็นตามห้าง
Online – เกมส์ที่เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตในการเล่น สามารถพบปะผู้เล่นอื่นๆ ได้ด้วย (เกมคอนโซลนั้นปัจจุบันสามารถออนไลน์เล่นกันได้ด้วยระบบแตกต่างกันไปของเครื่อง ..อย่างไรก็ตาม สำหรับในไทยแล้ว Online ก็คือเกมส์ที่ต่อ Internet เล่นใน Computer อยู่ดี)