ประเภทของเกมส์ต่างๆ

หลายคนคงมีความสงสัยว่า ทำไมเกมต่างๆถึงมีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไป แล้วแบบไหนเรียกอย่างไร ในบางครั้งเกมส์เดียวกันอาจจะเรียกไม่เหมือนกัน  ซึ่งโดยรวมเกมส์สามารถแบ่งออกได้ดังนี้

 

Action –                  เกมส์จะเน้นไปในเรื่องของการบังคับทิศทางและการบังคับตัวละคร ตัวอย่างเช่น   Castlevania, หรือ Honster Hunterที่ตัวเกมจะไม่มีอะไรซับซ้อน  ส่วนมากจะเป็นการต่อสู้เป็นด่านไปเรื่อยๆ หรืออย่างเกม Dynasty Warriors หรือที่เรียกกันง่ายๆว่าเกมส์สามก๊ก มีหลายชื่อตัวเกมส์ไม่ซับซ้อนมากนักเล่นง่าย

 

RPG ( Role- Playing Game )-  เป็นเกมส์ที่เน้นในเรื่องของเนื้อเรื่อง มีการพัฒนา ไม่เน้นเรื่องการบังคับตัวละครต่อสู้ พูดคุยกับตัวละครอื่นในเกมส์  ตัวอย่างเช่น Turn Base  สำหรับคำว่าเทิร์นเบส หมายถึงเกมที่การต่อสู้เป็นเทิร์นๆ เมื่อเจอกับศัตรู โดยเราจะไม่สามารถเข้าโจมตีได้อย่างอิสระ แต่จะต้องรอจนถึงคิวของฝั่งเราบังคับ ถึงจะกำหนดการกระทำของตัวละครได้ว่า จะใช้อาวุธ จะใช้ไอเทม จะหนีฯลฯ ซึ่งเกมแนว RPG บางเกม อย่างพวก ไฟนอลฯ ดราก้อนเควสต์ฯ นั้นก็มีจุดเด่นในการต่อสู้แบบเทิร์นเบสนี่เอง (แต่เกมพวกนั้นจะถูกระบุว่าเป็น RPG โดยไม่จำเป็นต้องระบุว่าเทิร์นเบส)

 

Action RPG –  สำหรับแนวนี้นั้น เหมือนเกมส์ RPG เพียงแต่การต่อสู้จะไม่ได้เป็นไปในลักษณะเทิร์นเบส แต่จะเข้าต่อสู้แบบอิสระเหมือนเกมส์ Action ทั่วไป ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดของเกมประเภทนี้ยังไงก็ต้องซีรี่ส์ Final Fantasy

 

Adventure – เกมส์แนวผจญภัย ที่เน้นไปทางการแก้ปริศนา โดยแกนเรื่องจะมีปริศนาที่จะค่อยๆ เปิดเผยในฉาก เกมแนวนี้บางครั้งอาจจะไม่มีการต่อสู้เลย  จะไม่มีการตัดเข้าฉากต่อสู้ (ถ้ามีการต่อสู้ส่วนใหญ่จะต่อสู้แบบ Action ไปเลย) เน้นเนื้อเรื่อง การแก้ปริศนา และฉากจบที่จะมีหลายแบบขึ้นอยู่กับขั้นตอนการกระทำของผู้เล่น  โดยเกมแนวนี้อาจจะมีการแบ่งย่อยของลักษณะเกม เช่น Fantasy Adventure ซึ่งจะเน้นไปทางเรื่องแฟนตาซี / Horror Adventure เน้นเรื่องลึกลับสยองขวัญ / Survival Adventure เน้นเรื่องการเอาตัวรอด / แต่ถ้ามีการต่อสู้บู๊แหลกด้วยแล้วก็อาจจะเป็นแนว Action Adventure ไป คือผสมระหว่างการแอ๊คชั่นของตัวละคร (ยิงปืนฯลฯ) กับการสำรวจและเอาตัวรอด ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดๆ คือพวก Biohazard ซึ่งก็คงเรียกได้ว่าเป็น Horror Action Adventure (เน้นไปทาง Action ซะมากกว่าด้วย)

 

Puzzle –เกมส์แก้ปริศนา ถ้ายกตัวอย่างพื้นฐานง่ายๆ ก็เกมประเภท เตอร์ติส นี่แหล่ะ แต่เกมแนวพัซเซิลก็ไม่ได้หมายความว่าจะต้องต่อจิ๊กซอว์อย่างเดียว เพราะจริงๆ เกมแนว Adventure นั้นหลายเกมก็ซ่อนปริศนา หรือการเล่นแนว Puzzle อยู่ด้วย แต่เกมแนว Puzzle เน้นการที่อาจจะไม่มีตัวละครหลักหรือการเล่นจะไม่เห็นตัวละครของเรา (ยกเว้นบางเกมที่มีการใส่บทสนทนาเข้าไปในเกมด้วย ซึ่งเกมจะออกแนว Adventure ไปแทน)

 

HOG –  Hidden object Game ถือว่าเป็น Puzzle ก็ว่าได้โดยเน้นว่าเกมค้นหาของ อาจจะ ค้นหาของที่อยู่ในภาพ (เกมที่ให้ชื่อของมาแล้วให้หา) หรือการค้นหาไปทั่วๆ ฉากเพื่อเอาสิ่งของที่ได้มาผสม มาตีความหรือมาแก้ปริศนาเพื่อไปในฉากต่อไป เกมแนวนี้อาจจะไม่เน้นเรื่องราวชัดเจน มีแค่ธีมกับเรื่องราวกว้างๆ เป็นหลัก ไม่ซับซ้อนในส่วนเนื้อเรื่อง แต่ซับซ้อนในส่วนของการดำเนินเรื่อง

 

Escape Game –  เกมส์นี้ก็ถือเป็น Puzzle-HoG ก็ได้ แต่ไม่ได้เน้นการหาของเพียงอย่างเดียวอย่าง HoG แต่เน้นการออกจากพื้นที่ปิดตายด้วย โดยตัวละครมักจะโผล่มาในลักษณะถูกขังหรืออยู่ในสถานที่จำกัด แล้วต้องแก้ไขปริศนาหาทางออก (บางเกมก็ไม่ใช่การหนีออก แต่การเป็นหาทางเข้า)  Crimson Room เป็นเกมแนว Escape Game ที่โด่งดังมาก

 

Simulation –  เกมส์จำลองชีวิตจริง ซึ่งเพื่อนๆ น่าจะคุ้นเคยกันดีอย่าง The sims แต่จริงๆ เกมแนวนี้ค่อนข้างกว้าง เพราะเกมตามเฟสบุ๊ค ที่สร้างเมือง สร้างร้านค้า ทำอาหารขายก็ถือว่าเป็น Simulation ในรูปแบบหนึ่งเหมือนกัน ตัวเกมอาจจะไม่มีจุดจบ เล่นไปได้เรื่อยๆ จนกว่าจะเบื่อ  ถึงแม้บางคนจะไม่ค่อยเข้าใจว่า ทำไมต้องเล่นเกมที่มันเหมือนชีวิตจริงอย่างนี้ แต่ก็ต้องยอมรับว่า ชีวิตจริงเราสร้างเองไม่ได้แบบ The Sims หรอกนะ  Harvest Moon ก็ถือเป็นเกมแนว Simulation เหมือนกัน

 

Ren-ai/Dating game –      เกมส์จีบหนุ่ม/จีบสาว เป็นเกมที่น่าจะแยกย่อยจาก Simulation แต่จะเน้นการเอาชนะใจตัวละครอื่นๆ และมีรูท หรือเนื้อเรื่องหลายเนื้อเรื่องในเกมเดียว แล้วแต่ค่าความสัมพันธ์ของตัวละคร โดยจะมีการถามตอบหรือทำกิจกรรมในเกมเพื่อเพิ่มหรือลดความสัมพันธ์กับตัวละครอื่นๆ (ในเกมจีบหนุ่มหรือจีบสาว บางเกมมีการผสม RPG หรือแนวเกมอื่นๆ ลงไปด้วย)

 

 Strategy –   เกมส์แนววางแผนรบ อาจจะไม่เน้นเนื้อเรือง (มีธีมครอบไว้เฉยๆ) เน้นการสร้าง การจัดการภายใน การควบคุมกองทัพ ซึ่งอาจจะเป็นตัวคน รถถึง ทหารม้า ฯลฯ จำนวนมากๆ เข้าต่อสู้โจมตีกับกองทัพอื่น ยึดดินแดน ขยายอาณาเขต ฯลฯ เกมแนวพัฒนาเมืองบางเกมก็จัดอยู่ใน Strategy นี่แหล่ะ

 

RTS – Real-Time Strategy สำหรับเกมวางแผนรบลักษณะนี้จะเน้นเรื่องการเวลาในการเล่น คือ ต้องเล่นไปเรื่อยๆ จนกว่าจะจบแมทช์ (หยุดพักไม่ได้) พวก DOTA ที่ฮิตๆ กันก็ถือว่าเป็นแนวนี้

 

TBS – Turn Based Strategy จะแตกต่างกับแบบ RTS ตรงที่สามารถเล่นได้เรื่อยๆ ไม่จำเป็นต้องสู้กันตลอดเวลาหรือมีเวลาจำกัด civilization ถือว่าอยู่จำพวกนี้เช่นกัน ตัวอย่างเช่น ซี่รี่ส์ Romance of the Three Kingdoms เป็นซี่รี่ส์ที่ได้รับความนิยมจากแฟนๆ สามก๊ก จุดเด่นคือการวางกลยุทธและตัวบุคคล ไม่ว่าจะกุนซือหรือแม่ทัพชื่อดังในสามก๊ก  ซี่รี่ส์ civilization  ก็เป็นแนว Strategy ที่ได้รับความนิยมอย่างมาก

 

Fighting    แนวต่อสู้ เปิดฉากมาก็มีตัวละครสองฝ่าย ที่เราสามารถบังคับมาต่อสู้กันได้ โดยถ้าเลือดฝ่ายไหนหมดก่อนฝ่ายนั้นแพ้ (บางเกมถ้าตกเวทีก็แพ้) เกมแนวนี้ก็เช่น King of Fighter /Tekken ฯลฯ 

 

PS (First Person Shooter) –  เกมมุมมองบุคคลที่ 1 เราจะไม่เห็นตัวละครของตัวเอง (อาจจะเห็นแค่มือ)

 

TPS (Third Person Shooter) – เกมมุมมองบุคคลที่ 3 เราจะเห็นตัวละครตัวเอง

**แต่ก็มีหลายเกมที่ปรับมุมมองได้ทั้งสองแบบนะ  แบบ FPS จะเห็นแค่มือ อาวุธที่ถือ (ตัวอย่างจากเกม Battle Field)  แบบ TPS จะเห็นตัวละครของเรา โดยส่วนใหญ่เราจะอยู่ด้านหลังตัวละคร (ตัวอย่างจากเกม Battle Rage)

 

Music/Rhythm – เกมแนวดนตรีหรือการจับจังหวะ dance dance revolution เกมเต้นสุดฮิต  หรือ ไทโกะโนะทัตสึจิน เกมตีกลองไทโกะ ที่ญี่ปุ่นเอาวัฒนธรรมตัวเองมาประยุกต์ได้อย่างน่ารัก  หรือ beat mania เวลาเห็นคนอื่นเล่นกันแล้ว เทพมากๆ


Visual Novel – เกมแนว…ให้อ่าน อ่าน และอ่าน เน้นเนื้อเรื่องโดยมาก ผู้เล่นอาจจะมีโอกาสได้เลือกเส้นทางที่จะไปตามตัวเลือกที่มีให้เลือก แต่นอกนั้นจะไม่มีอะไรให้ทำมาก นอกจากอ่าน อ่าน และอ่าน…และฉากจบอาจจะมีหลายแบบแล้วแต่ว่า ผู้เล่นเลือกอ่าน หรือเลือกตอบมาเส้นทางไหน…เกมแนวนี้ถ้าอ่านแล้วสนุกก็โอเค แต่ถ้าอ่านไม่ออกจะเซ็งจอร์จมากเลย  ตัวอย่างเช่น  Are you Alice? เนื้อเรื่องเข้มข้น อ่านเพลินมาก

 

Sport –   เกมส์เกี่ยวกับกีฬา

 

Racing – เกมส์เกี่ยวกับรถแข่ง

 

Shooting –เกมส์แนวยิงๆ จะเป็นยิงปืน หรือจะเป็นยานยิงก็เป็นชูตติ้งได้ อาจจะตะลุยเป็นด่านๆ ไปหรือมีเนื้อเรื่องควบคู่ไปด้วย

 

Party Game-       สำหรับเกมส์แนวนี้ เป็นเกมส์ที่มีจุดเด่นคือ “การเล่นกับเพื่อนฝูง” เน้นการเล่นกับผู้เล่นอื่น (ถึงแม้จะเล่นกับ Ai ได้ก็ตาม) โดยมีแยกย่อยอยู่หลายประเภท เกมที่นับว่าเป็นเกมแนวนี้ได้ ก็คงพวก Mario Kart หรือเกมกระดานต่างๆ

 

board game – เกมส์กระดาน ซึ่งถ้าใครเกิดทันสมัยเด็กๆ คงได้เล่นพวกเกมงูกินหาง เกมทอยเต๋า ฯลฯ เกมแนวนี้ก็ประมาณนี้ (เกมพวกไพ่หรือมาจอง ก็ถืออยู่ในหมวดนี้

 

Card game- เกมส์การ์ด ซึ่งเป็นอันรู้ดีกันว่า การ์ดต่างจากไพ่ ซึ่งถ้าพูดถึงการ์ดเกมแล้วที่น่าจะรู้จักกันก็อย่างเช่น Yu gi Oh เป็นต้น โดกาปอง ที่หลายคนอาจจะเคยเล่นกันมาตั้งแต่เกมส์ Play1

 

Itadaki- เกมส์นี้เล่นเหมือนเกมส์เศรษฐี

 

Arcade-เกมส์ตู้ หรือเกมส์หยอดเหรียญที่เห็นตามห้าง


Online –               เกมส์ที่เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตในการเล่น สามารถพบปะผู้เล่นอื่นๆ ได้ด้วย (เกมคอนโซลนั้นปัจจุบันสามารถออนไลน์เล่นกันได้ด้วยระบบแตกต่างกันไปของเครื่อง ..อย่างไรก็ตาม สำหรับในไทยแล้ว Online ก็คือเกมส์ที่ต่อ Internet เล่นใน Computer อยู่ดี)